การให้บริการของงานพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม 
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คือ ผู้มีสัญชาติไทย คือ
- อายุ 60 ปีขึ้นไป
- มีทะเบียนบ้านในเขตตำบลกุดแห่
- ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ อาทิ เงินบำนาญ
เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ
หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ ที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ
ทั้งนี้ ต้องเตรียมหลักฐานประกอบการลงทะเบียน ซึ่งประกอบด้วยเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ที่ราชการออกให้ ซึ่งมีรูปถ่าย พร้อมสำเนา 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนา 1 ชุด
4. สำหรับกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถมาจดทะเบียนด้วยตนเองได้
- จะต้องมีใบมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร จำนวน 1 ฉบับ
- ระบุว่า ผู้สูงอายุ ได้มอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นคำขอจดทะเบียนรับเบี้ยยังชีพแทน
- ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจมาด้วย 1 ชุด
ขอให้ผู้สูงอายุ หรือผู้แทน ไปยื่นจดทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่ ที่สำนักงานเขตที่ผู้สูงอายุมีชื่อ
อยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ในวัน และเวลาราชการ โดยจะได้รับเงินภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน
ในลักษณะอัตราเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันได โดย
- ผู้สูงอายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท
- ผู้สูงอายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท
- ผู้สูงอายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท
- ผู้สูงอายุ 90 ปี ขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท
*****เบี้ยความพิการ***** 
1. มีสัญชาติไทย
2. มีบัตรประจำตัวผู้พิการ
3. อาศัยอยูในเขตตำบลกุดแห่ (ตามทะเบียนบ้าน)
4. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐตามบัญชีรายชื่อที่ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประกาศกำหนด
5. ในการณีผู้พิการเป็นผู้ต้องขังหรือจำคุกอยู่ในเรือนจำ ทัณฑสถาน หรือสถานคุมขังของกรมราชทัณฑ์หรือ
เป็นผู้ซึ่งถูกควบคุม อยู่ในสถานพินิจ
และคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนของ
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้ไปลงทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยความพิการได้โดยยื่นคำขอต่อผู้บัญชาการ
เรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน ผู้อำนวยการ สถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน ผู้อำนวยการศูนย์ฝึก
และอบรมเด็กและเยาวชน หรือผู้บริหารที่เรียกชื่ออย่างอื่นแล้วแต่กรณี เพื่อนำส่งเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้พิการตามกฎหมาย
**ผู้พิการซึ่งได้รับสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือระเบียบอื่นไม่เป็นการตัดสิทธิผู้พิการที่จะได้รับตามระเบียบนี้**
หลักฐานประกอบการจดทะเบียน
1. สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ และสำเนาทะเบียนบ้าน
2. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ดูแล (กรณีผู้ดูแลเป็นผู้ยื่น)
3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีขอรับเงินผ่านธนาคาร)
***สำเนาเอกสารทุกแผ่น ให้รับรองสำเนาถูกต้อง***จะได้รับเบี้ยเป็นรายเดือน ๆ ละ 800.-บาท