คำขวัญตำบลกุดแห่"ลำห้วยเขืองไหลผ่าน กลุ่มแม่บ้านสามัคคี เกษตรอินทรีย์ทันสมัย เลื่องลือไกลวันออกพรรษา มูลนิธิชัยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูถ้ำพระงามตระกานตา ๑๔ เมษาคารวะพระธาตุอาจารย์ดี" ปรัญชาการดำเนินงาน "ตำบลน่าอยู่ ควบคู่การบริการ ประสานการพัฒนา แก้ปัญหาความยากจน นำคนสู่คุณธรรม"

 


 


 

 

 

 

นายสงกรานต์ นนทะคุณ
ผู้อำนวยการกองคลัง

 
 

นางสุภานี  อาจเอี่ยม
นักวิชาการเงินและบัญชี

 

นางมนต์ศิริ  ไชยสุทธ์
นักวิชาการจัดเก็บรายได้

 

นางสาวพุธจรินทร์ หนองแคน
คนงานทั่วไป

 

นางนิชาภา ธิบูรณ์บุญ
คนงานทั่วไป

นายศตวรรษ แถลงคำ
จ้างเหมาบริการ

นายศราวุฒิ สุวเพชร
จ้างเหมาบริการ

นางสาวอนัฐดา คำภีระ  
จ้างเหมาบริการ

 

 

 

นางสาวจันทณี บุญขาว
จ้างเหมาบริการ

 

 

 

 

กองคลังประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคล  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน  ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามกฎหมายนี้ “ที่ดิน” หมายถึง พื้นที่ดินและให้หมายความรวมถึง พื้นที่  ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย
การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีบำรุงท้องที่

  • ยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือน มกราคม ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี
  • บุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการ(ภ.บ.ท.5)ต่อเจ้าพนักงานประเมิน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เป็นเจ้าของที่ดินหรือจำนวนที่ดินมีการเปลี่ยนแปลง
  • ชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ ภายในเดือน เมษายน ของทุกปี

การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดินในเขตเทศบาลตำบลกุดแห่ได้ไม่เกิน  1  ไร่ 

  • ที่ดินแปลงที่เจ้าของปลูกบ้านอยู่อาศัย  โดยไม่ทำการค้าหรือให้เช่าแต่อย่างใด  ลดหย่อนได้ 1 ไร่  ส่วนที่เกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด
  • ที่ดินเจ้าของปลูกบ้านให้เช่า  หรือปลูกบ้านเพื่อทำการค้าและได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว  จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในอาคารนั้นตั้งอยู่
  • ที่ดินว่างเปล่า  หรือไม่ทำประโยชน์จะต้องเสียภาษีเป็นสองเท่าของอัตราปกติ

หลักฐานประกอบการยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่
1.  ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมา
2.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาทะเบียนบ้าน
3.  สำเนาโฉนด/นส.3 (เอกสารสิทธิ์ในที่ดิน)
ไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าของที่ดินต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตรา ดังต่อไปนี้

  • ไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน(ภ.บ.ท.5)ภายในกำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีก 10% ของค่าภาษี
  • ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีลดลง ให้เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
  • ชี้เขต แจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องต่อเจ้าพนักงานสำรวจทำให้จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีลดลง ให้เสียเงินเพิ่มอีก หนึ่งเท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
  • ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด(เดือนเมษายน)ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปีของค่าภาษี(2% ต่อเดือน)

 

 

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินที่มิได้ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างนั้นๆ ที่ใช้ประกอบกิจการเพื่อหาผลประโยชน์
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1. เจ้าของทรัพย์สิน  
2. เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและเจ้าของที่ดินเป็นคนละคน  เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูก    สร้างมีหน้าที่เสียภาษี  
3. ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทายาท หรือผู้จัดการมรดก
ขั้นตอนการยื่นแบบชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

  • เจ้าของทรัพย์สินยื่นแบบพิมพ์(ภ.ร.ด.2)ได้ที่สำนักงานเทศบาลตำบลกุดแห่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ยื่นแบบแสดงรายการและชำระทันที หรือภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
  • กรณีทรัพย์สินไม่มีผู้เช่าให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน ของเดือนที่ทรัพย์สินนั้นว่างลง

อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ผู้รับประเมินต้องชำระภาษีปีละครั้ง ในอัตราร้อยละ 12.50 ของค่ารายปี (ค่าเช่า)
ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนด  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินจะต้องเสียเงินเพิ่ม  ดังนี้

  • ถ้าค้างชำระไม่เกิน 1 เดือนนับแต่วันพ้นกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ2.5 ของค่าภาษีที่ค้างชำระ 
  • ถ้าค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือนให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้างชำระ        
  • ถ้าค้างชำระเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือนให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้างชำระ
  • ถ้าค้างชำระเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือนให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้างชำระ 
    ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 5)พ.ศ.2543 มาตรา 44 กำหนดว่า”ถ้ามิได้มีการชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มภายใน 4 เดือน ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ ยึด อายัด หรือขายทอดตลาด ทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษี เพื่อนำเงินมาเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โดยมิต้องขอให้ศาลสั่ง หรือออกหมายยึด”

 

ภาษีป้าย
ภาษีป้ายเป็นภาษีที่เก็บจากป้าย อันหมายถึง ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจกรรมอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะ สลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ
ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีป้าย

  • เจ้าของป้าย
  • ผู้ครอบครองป้าย/ผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย

  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ภป.1)ตั้งแต่วันที่1 มกราคม ถึง มีนาคม ของทุกปี
  • ยื่นแบบและชำระทันที หรือ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
  • กรณีติดตั้งป้ายใหม่ หลังเดือนมีนาคม ให้ยื่นแบบแสดงรายการ(ภป.1)ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ติดตั้ง

ไม่ชำระภาษีป้ายภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่เสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้

  • ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ภป.1)ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่ม 10%ของค่าภาษี
  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง  ทำให้จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลง  ให้เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
  • ไม่ชำระภาษีป้ายภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของค่าภาษี
 

อัตราค่าภาษีป้าย
การคำนวณภาษีป้าย โดยคำนวณจากขนาด กว้าง x ยาว
 หารด้วย 500 คูณด้วย อัตราภาษี ตามประเภทของป้าย

ประเภท
ป้าย

ลักษณะป้าย

อัตราภาษี
(บาท/ตร.ซม.)

1
2
3

อักษรไทยล้วน
อักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมายอื่น
ป้ายดังต่อไปนี้                                                                      (ก)ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดหรือไม่
(ข)มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

3/500
20/500
40/500

หมายเหตุ:ป้ายตามประเภท 1,2 หรือ 3 เมื่อคำนวณพื้นที่แล้ว ถ้ามีอัตราภาษีที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

 

 

 

 

 


 

   

 

     

 

 

 

 

 

 
 
 

 

 

 

 

 

Free Web Hosting